วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Introduction to CMMI

CMMI (Capability Maturity Model Integration) เป็นมาตรฐานในการปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่รู้จักและยอมรับของสากล หากองค์กรใดได้รับ CMMI (แล้วแต่ level) ถือว่าองค์กรนั้นมี product และกระบวนการพัฒนา product ที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือของลูกค้า และเป็นตัวการันตีชิ้นงานที่ออกไป ดังนั้นองค์กรหลายๆองค์กรจึงมีความต้องการในการทำCMMIกันมากขึ้น ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ซึ่งในตอนนี้CMMIก็มีอยู่ 5 ระดับ
CMMI จะมีวิธีการหรือขั้นตอน (process improvement) เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (product, service) ให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ จนถึงการส่งมอบ (Release) และการบำรุงรักษา (Maintainance) เพื่อให้ทุกองค์กรนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ ปัจจุบันเป็น CMMI version 1.2 (สิงหาคม 2006)

CMMI ในเวอร์ชั่น 1.2 ประกอบไปด้วย 22 process areas ดังนี้

1 .Causal Analysis and Resolution (CAR)
2.Configuration Management (CM)
3.Decision Analysis and Resolution (DAR)
4.Integrated Project Management (IPM)
5.Measurement and Analysis (MA)
6.Organizational Innovation and Deployment (OID)
7.Organizational Process Definition (OPD)
8.Organizational Process Focus (OPF)
9.Organizational Process Performance (OPP)
10.Organizational Training (OT)
11.Product Integration (PI)
12.Project Monitoring and Control (PMC)
13.Project Planning (PP)
14.Process and Product Quality Assurance (PPQA)
15.Quantitative Project Management (QPM)
16.Requirements Development (RD)
17.Requirements Management (REQM)
18.Risk Management (RM)
19.Supplier Agreement Management (SAM)
20.Technical Solution (TS)
21.Validation (VAL)
22.Verification (VER)

โดย CMMI พัฒนามาจาก Software Engineering institute (SEI)

ก่อนหน้าที่จะมี
CMMI นั้นมีโมเดลที่ใช้วัดประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนา เช่น SW-CMM , SECM , IPD-CMM
แต่เกิดปัญหาความยุ่งยากซับซ้อน เพราะมีหลายตัวเกินไป บางอย่างเป็นเรื่องเดียวกัน แต่เรียกคนละชื่อก็เกิดความสับสน จึงรวมเป็นตัวเดียวในปัจจุบันคือ
CMMI

การทำ CMMI องค์กรสามารถเลือกการนำเสนอ (Representation) ในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรได้ ซึ่งมี 2 ประเภทได้แก่

1. Stage Representation : สำหรับแบบStageนี้เราก็ไม่ต้องมาคิดProcess areaเอง เพราะมี path บอกเลยว่าจะต้องปรับปรุงกระบวนใน Process area ไหนบ้าง
2. Continuous Representation : สำหรับแบบ
Continuousจะสามารถเลือกได้ว่าจะทำProcess areaไหนบ้างได้
แต่การทำCMMIในแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงซึ่งถ้าจะให้ดีแล้ว สำหรับในความคิดของเราก็คิดว่าน่าจะทำทุกProcess area เพื่อให้CMMIของหน่วยงาน หรือองค์กรนั้นๆมีCMMIครบทุกProcess areaในการทำหนึ่งครั้ง
สำหรับองค์กร หรือหน่วยงานที่ยังไม่มีความรู้ หรือ ไม่เคยทำCMMIก็สามารถเลือกทำได้ทั้งสองแบบ
หรือ อาจจะจ้างผู้เชี่ยวชาญทางCMMIมาให้คำปรึกษาแนะนำก็ได้
(อันนี้ตอนไปอบรมที่โครงการSSMEเค้าบอกว่าบริษัทส่วนมากที่ไม่เคยทำจะจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ)

ตารางเปรียบเทียบ Level

Level

Continuous Representation :
Capability Levels

Staged Representation:
Maturity Levels

Level 0

Not Performed

N/A

Level 1

Performed

Performed

Level 2

Managed

Managed

Level 3

Defined

Defined

Level 4

Quantitatively Managed

Quantitatively Managed

Level 5

Optimizing

Optimizing



ไม่มีความคิดเห็น: