วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1)

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) article

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 96/2543

เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวล

รัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

---------------------------------------------

เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงิน ได้และผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ ปฏิบัติดังนี้

(1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้

(ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12

(ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24

(ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52

การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่เข้าทำงานด้วยจำนวนคราวที่ จะต้องจ่ายจริงสำหรับปีนั้น เช่น เข้าทำงานวันที่ 1 เมษายน และกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำนวนคราวที่จะต้องจ่ายสำหรับปีที่เข้าทำงานจะเท่ากับ 9

(2) ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ นำมาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้ง สิ้น

การคำนวณหักค่าลดหย่อน ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิใน ค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01(แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้ ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่ม หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริง เท่านั้น

กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น

(3) ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น

ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวไม่ลงตัวเหลือเศษเท่าใด ให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี

(4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) - (3)

(5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือน หนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น

(6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ในครั้งที่สอง แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป

(7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก

(8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1)แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 2 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเงินภาษีที่จะต้องหัก ไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้น ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่ หักเมื่อรวมแล้วเท่ากับจำนวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น โดยนำจำนวนภาษีที่ได้หักและนำส่งไว้แล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น

นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีทั้งปีจำนวน 20,140 บาท ซึ่งจะต้องถูกหักภาษีไว้เดือนละ 1,678.33 บาท ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักภาษี (คำนวณตามข้อ 1) และนำส่งไว้เดือนละ 928.33 บาท เป็นเวลา 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) และเดือนละ 4,315 บาท เป็นเวลา 2 เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) รวมเป็นเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว = (928.33 X 9) + (4,315 X 2) = 16,984.97 บาท เหลือภาษีที่จะต้องหักและนำส่งในเดือนธันวาคม = 20,140 - 16,984.97 = 3,155.03 บาท

ข้อ 3 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงาน ระหว่างปี ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษี เพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตาม หลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงโดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินใน เดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้ายนั้นได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น

นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 1,008.33 บาท ภาษีที่หักไว้ไม่ครบ = (1,008.33 - 928.33) X 5 = 400 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 1,008.33 + 400 = 1,408.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้ขาด) นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 803.33 บาท ภาษีที่หักไว้เกิน = (928.33 - 803.33) X 5 = 625 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 803.33 - 625 = 178.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน)

ข้อ 4 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนอื่นนอกจากกรณีตามข้อ 2 และข้อ 3 ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังคงต้องคำนวณภาษีและหัก ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่กล่าวในข้อ 1

ข้อ 5 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก

สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543

ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ

อธิบดีกรมสรรพากร

แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน (แบบ ล.ย.01) >>

---------------------------------------------

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย

กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543

ตัวอย่างที่ 1

กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินเป็นรายเดือน เดือนละเท่า ๆ กันตลอดปีภาษี ตามข้อ 1 (1) (2) (3)

ปีภาษี 2542 นาย ก. ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท นาย ก. ได้แจ้งสถานะการหักลดหย่อนไว้ดังนี้

ภรรยาไม่มีเงินได้ และบุตรกำลังศึกษา 2 คน

ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในเดือนกรกฎาคม 2542 จำนวน 9,600 บาท และ ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ ที่จะต้องจ่ายทั้งปี จำนวน 13,200 บาท

ผู้จ่ายเงินได้ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแต่ละเดือน ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 300,000.- บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000.- บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000.- บาท

ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34,000.- บาท

ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 9,600.- บาท

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ 10,000.- บาท = 113,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 186,400.- บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี ((100,000 - 50,000) X 5%) + (86,400 X10%) = 11,140.- บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 11,140 หาร 12 = 928.33 บาท

เหลือ เศษ = 0.003 บาท

จำนวนเงินที่เหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี

ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม = 928.33 + (0.003 x 12) = 928.37 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 928.33 บาท

เดือนธันวาคม = 928.37 บาท

---------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 2

กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปีภาษี ตามข้อ 1 (4) และการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เดือนธันวาคมตามข้อ 2

จากตัวอย่างที่ 1 ถ้านาย ก. ได้รับเงินเดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 เป็นเดือนละ 60,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 60,000 x 12 = 720,000.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 660,000.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000 = 113,600.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 546,400.- บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี ((100,000 - 50,000) X 5%) + (400,000 X10%) + (46,400 X 20%)

= 51,780.- บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป 51,780 หาร 12 = 4,315.- บาท

สำหรับในเดือนธันวาคม ให้ปรับปรุงการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ :

ภาษีที่ต้องเสียทั้งปีจากเงินได้ที่ได้รับจริง (คำนวณจากเงินเดือน ๆ ละ 30,000 บาท 9 เดือน

และเดือนละ 60,000 บาท 3 เดือน) = 20,140.- บาท

ภาษีเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้แล้ว (ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนพฤศจิกายน)

= (928.33 X 9) + (4,315 X 2) = 16,984.97 บาท

เป็นภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ในเดือนธันวาคม = 20,140 - 16,984.97 = 3,155.03 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง กันยายน เดือนละ = 928.33 บาท

เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 4,315.- บาท

เดือนธันวาคม = 3,155.03 บาท

---------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 3

กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวในระหว่างปีภาษี ตามข้อ 1 (5)

จากตัวอย่างที่ 1 ถ้าในเดือนมีนาคม 2542 นาย ก. ได้รับเงินโบนัสอีก จำนวนหนึ่งเป็นเงิน 90,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม 2542 ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท

บวก เงินโบนัส = 90,000 X 1 = 90,000.- บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 450,000.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 390,000.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000 = 113,600.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 276,400.- บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมเงินโบนัส

((100,000 - 50,000) X 5%) + (176,400 X10%) = 20,140.- บาท

หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1) = 11,140.- บาท

คงเหลือภาษีเงินได้ของโบนัส = 9,000.- บาท

บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนมีนาคม (ตามตัวอย่าง 1) = 928.33 บาท

รวม ภาษีต้องหัก ณ ที่จ่าย เดือนมีนาคม = 9,928.33 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ เดือนละ = 928.33 บาท

เดือนมีนาคม = 9,928.33 บาท

เดือนเมษายน ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 928.33 บาท

เดือนธันวาคม = 928.37 บาท

---------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 4

กรณีจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่สม่ำเสมอตลอดปีภาษี ตามข้อ 1(6)

จากตัวอย่างที่ 1 นาย ก. ได้รับเงินเดือนและได้รับเงินค่าล่วงเวลาตาม จำนวนวันที่ทำงาน

เดือนมกราคมได้รับค่าล่วงเวลา 6,500 บาท

เดือนกุมภาพันธ์ได้รับค่าล่วงเวลา 5,200 บาท

ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังนี้

วิธีคำนวณ

มกราคม

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท

บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 6,500.- บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 366,500.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 306,500.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000 = 113,600.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 192,900.- บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา ((100,000 - 50,000) X 5%) + (92,900 X10%)

= 11,790.- บาท

หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1) = 11,140.- บาท

คงเหลือภาษีเงินได้ของค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 650.- บาท

บวก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนมกราคม = 928.33 บาท

รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนมกราคม (650 + 928.33) = 1,578.33 บาท

กุมภาพันธ์

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท

บวก ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 6,500.- บาท

บวก ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ = 5,200.- บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 371,700.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 311,700.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 34,000 + 9,600 + 10,000)= 113,600.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 198,100.- บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปีของเงินเดือนรวมค่าล่วงเวลา ((100,000 - 50,000) X 5%) + (98,100 X10%)

= 12,310.- บาท

หัก ภาษีเงินได้ทั้งปีเฉพาะเงินเดือน (ตามตัวอย่าง 1) = 11,140.- บาท

ภาษีเงินได้ของค่าล่วงเวลา = 1,170.- บาท

หัก ภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนมกราคม = 650.- บาท

คงเหลือภาษีเงินได้ค่าล่วงเวลาเดือนกุมภาพันธ์ = 520.- บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเงินเดือนของเดือนกุมภาพันธ์ = 928.33 บาท

รวมภาษีต้องหัก ณ ที่จ่ายเดือนกุมภาพันธ์ (520 + 928.33) = 1,448.33 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม = 1,578.33 บาท

เดือนกุมภาพันธ์ = 1,448.33 บาท

เดือนมีนาคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 928.33 บาท

เดือนธันวาคม = 928.37 บาท

---------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 5

กรณีนายจ้างออกเงินค่า ภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษี โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย (ออกภาษีให้ตลอดไป) ตามข้อ 1 (7)

นายลิขิตมีเงินเดือน ๆ ละ 25,000 บาท มีภรรยาชอบด้วยกฎหมาย และบุตร กำลังศึกษา 1 คน บริษัทออกเงินภาษีให้ตลอดไป ผู้จ่ายเงินได้ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้

วิธีคำนวณ

ครั้งที่ 1

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 240,000.- บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000.- บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000.- บาท

ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 1 คน 17,000.- บาท = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 186,400.- บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (63,000 X10%) = 8,800.- บาท

ครั้งที่ 2

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 = 8,800.- บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 308,800.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 248,800.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 171,800.- บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (71,800 X10%) = 9,680.- บาท

ครั้งที่ 3

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2 = 9,680.- บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 309,680.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 249,680.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 172,680.- บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 3 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,680 X10%)= 9,768.- บาท

ครั้งที่ 4

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวกภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 3 = 9,768.- บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 309,768.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 249,768.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 172,768.- บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 4 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,768 X10%)= 9,776.80 บาท

ครั้งที่ 5

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 4 = 9,776.80 บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 309,776.80 บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 249,776.80 บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 172,776.80 บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 5 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,776.80 X10%)

= 9,777.68 บาท

ครั้งที่ 6

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 5 = 9,777.68 บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน= 309,777.68 บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 249,777.68 บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 172,777.68 บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 6 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,777.68 X 10%)

= 9,777.77 บาท

ครั้งที่ 7

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 6 = 9,777.77 บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 309,777.77 บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 249,777.77 บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 172,777.77 บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 7 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,777.77 X 10%)

= 9,777.78 บาท

ครั้งที่ 8

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 7 = 9,777.78 บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 309,777.78 บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 249,777.78 บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 172,777.78 บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 8 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (72,777.78 X 10%)

= 9,777.78 บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 9,777.78 หาร 12 = 814.81 บาท

เหลือ เศษ = .005 บาท

จำนวนเงินเหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี

ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม = 814.81 + (0.005 X 12 ) = 814.87 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นายลิขิต ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 814.81 บาท

เดือนธันวาคม = 814.87 บาท

---------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 6

กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่ แน่นอน (ออกภาษีให้ครั้งเดียว) ตามข้อ 1 (8) เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่จะต้องชำระ

จากตัวอย่างที่ 5 นายจ้างออกเงินค่าภาษีให้ครั้งเดียวเป็นจำนวนที่แน่นอน ผู้จ่ายเงินได้ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้

วิธีคำนวณ

ครั้งที่ 1

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 240,000.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 163,000.- บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (63,000 X10%) = 8,800.- บาท

ครั้งที่ 2

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 25,000 x 12 = 300,000.- บาท

บวก ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 1 = 8,800.- บาท

รวมเงินได้พึงประเมิน = 308,800.- บาท

หัก ค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 248,800.- บาท

หัก ค่าลดหย่อน (30,000 + 30,000 + 17,000) = 77,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 171,800.- บาท

ภาษีที่คำนวณได้ครั้งที่ 2 ((100,000 - 50,000) X 5%) + (71,800 X10%) = 9,680.- บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 9,680 หาร 12 = 806.66 บาท

เหลือ เศษ = .006 บาท

จำนวนเงินเหลือเศษให้รวมกับเงินภาษี

ที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม = 806.66 + (0.006 X 12 ) = 806.74 บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นายลิขิต ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 806.66 บาท

เดือนธันวาคม = 806.74 บาท

---------------------------------------------

ตัวอย่างที่ 7

การคำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานการหักค่าลดหย่อนที่แท้จริงที่ผู้มีเงินได้นำมา แสดง กรณีผู้มีเงินได้ออกจากงานในระหว่างปีภาษี ตามข้อ 3

จากตัวอย่างที่ 1 นาย ก. ได้ลาออกจากงานวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และไม่สามารถนำหลักฐานการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 9,600 บาท ที่แจ้งรายการขอหักลดหย่อนไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้มาแสดงได้ แต่ได้นำใบเสร็จรับเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายในแต่ละเดือนมาแสดงจำนวน 12,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้อง คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเดือนมิถุนายน 2542 ดังนี้

วิธีคำนวณ

เงินเดือนเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี = 30,000 x 12 = 360,000.- บาท

หักค่าใช้จ่าย (40 % ไม่เกิน 60,000 บาท) = 60,000.- บาท

คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย = 300,000.- บาท

หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000.- บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000.- บาท

ค่าลดหย่อนบุตรศึกษา 2 คน 34,000.- บาท

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ 10,000.- บาท = 104,000.- บาท

คงเหลือเงินได้สุทธิ = 196,000.- บาท

ภาษีเงินได้ทั้งปี ((100,000 - 50,000) X 5%) + (96,000 X10%) = 12,100.- บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน 12,100 หาร 12 = 1,008.33 บาท

ภาษีที่นำส่งไว้ขาดแต่ละเดือน (1,008.33 - 928.33) = 80.- บาท

จำนวนเดือนที่ส่งไว้ขาด คือ 5 เดือน (มกราคม - พฤษภาคม)

ภาษีที่ต้องนำส่งเดือนมิถุนายน 1,008.33 + (80.00 X 5) = 1,408.33

บาท

สรุป ผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของ นาย ก. ในกรณีนี้ ดังนี้

เดือนมกราคม ถึง พฤศจิกายน เดือนละ = 928.33 บาท

เดือนธันวาคม = 928.37 บาท


ที่มาของบทความ: http://www.jarataccountingandlaw.com

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Work Experience (Resume) Deisgn

System: HRMS
Feature: สามารถเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นในการ Gen Report Resume ได้
Function: Work Experience (Resume)
Interface:
- สามารถระบุชื่อบริษัทได้
- สามารถระบุที่อยู่ได้
- สามารถระบุประเภทของธุรกิจได้ มากกว่า 1 ประเภท
- สามารถระบุประเภทของงานได้
- สามารถระบุตำแหน่งล่าสุดได้
- สามารถระบุลักษณะงานที่รับผิดชอบได้
- สามารถระบุตำแหน่งเทียบกับตลาดได้
- สามารถระบุเงินเดือนล่าสุดได้
- สามารถระบุวันเริ่มงานได้ พร้อม ชนิดเงิน และ ระยะเวลาการจ่ายเงิน
- สามารถระบุวันเริ่มงานได้
- สามารถระบุวันสิ้นสุดงานได้
- สามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้
- สามารถโชว์ข้อมูลสรุปประสบการณ์ทำงานได้
- ประเภทของลักษณะงานที่รับผิดชอบ
- ระยะเวลาแต่ละ ลักษณะงานที่รับผิดชอบ
- สรุประยะเวลาประการทั้งหมด

ดาต้าเบสที่เกี่ยวข้องทั้งหมด กับ Features นี้
  1. hr_vocation ชนิด master table เพื่อไว้เ้ก็บ ประเภทของธุระกิจและลักษณะงานต่าง ๆ
  2. hr_public_position ชนิด master table เพื่อไว้เก็บ ตำแหน่งที่มีในท้องตลาด จะสอดคล้องกับ hr_vocation
  3. hr_work_type ชนิด master table เพื่อเก็บประเภทของงานเช่น งานประจำ งานชั่วคราว งานอิสระ ฝึกงาน เป็นต้น
  4. hr_rate ชนิด master table เพื่อเก็บชนิดเงินตราแลกเปลี่ยน ในฟีเจอร์นี้ไว้ใช้กับเงินเดือนล่าสุดว่า เป็น อัตราแลกเปลี่ยแบบ THB หรือ $ เป็นต้น
  5. hr_schedule_payment ชนิด master table เพื่อเก็บรอบในการจ่ายเงินเป็นแบบใหน เช่น ชั่วโมง วัน เดือน ปี เป็นต้น
  6. hr_experience ชนิดเป็น Transaction table เพื่อเก็บประสบการทำงานของพนักงานแต่ละคน
  7. hr_exp_vocation ชนิดเป็น Table กลาง ที่เก็บข้อมูลประเภทธุรกิจของประสบการณ์นั้น ๆ จะมีได้มากกว่า 1 เป็นมีความสัมพันธ์ เป็น 0ne-many กับ Table hr_vocation และ Table hr_experience
  8. hr_address_unit ชนิดเป็น master table เพื่อเก็บข้อมูลที่อยู่ ใน Feature นี้ไว้ใช้กับ ที่อยู่ของบริษัท ในแต่ละประสบการณ์การทำงาน
  9. hr_address_unit_type ชนิดเป็น master table เพื่อเก็บชนิดของที่อยู่ว่าเป็น ประเทศ จังหวัด หรืออะไรเป็นต้นพร้อมทั้งบอก ลำดับความสัมพันธ์ เช่น ประเทศ = 0 จังหวัด = 1 เป็นต้น

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เพิ่มการคำนวณ ประกันสังคม บริษัทออกให้อัตโนมัติ

System: HRMS Phase 1 R2
Features
ประักันสังคมออกให้
หลักการ จะเป็นการเพิ่มรายได้ตัวนึงชื่อ ประกันสังคมออกให้ ให้เท่ากับ ค่าประกันสังคม และรายได้ตัวนี้ก็จะถูกคำนวณภาษีเหมือนปรกติทั่ว ๆ ไป และสามารถเลือกแบบคำนวณภาษี แบบบริษัทออกให้ได้ด้วยเหมือนรายได้ตัวอื่น ทั่ว ๆ ไป
Interface ใน Tab General ของหน้า Employee profile ให้เพิ่มตัวเลือกแบบ ตัวใดตัวหนึ่งเป็น Drop down โดยมีให้เลือก 3 ตัวคือ 1.ประกันสังคม ออกเอง 2. ประกันสังคม บริษัทออกให้ 3. ไม่คิดประกันสังคม
Update DB เพิ่ม Field is_social_comp ในตาราง
- personel.hr_emp_payment_transaction
- personel.hr_emp_payment_transaction_complete
- personel.hr_emp_payment_transaction_temp
- organize.hr_payment

Mail ร้องขอวิธีการคำนวณแบบ Gross up

Dear P’Kom

ตอนนี้ระบบจะติดปัญหาเรื่องการคำนวณผิดพลาด ของ Gross up ที่เป็นแบบบริษัทจ่ายให้ครั้งเดียว (โดยระบุให้กับเงินเดือนอย่างเดียว)
จึงได้อยากขอในวิธีการที่ถูกต้องกับทางพี่วีนัส เพื่อมาแก้ใขข้อผิดพลาดในกรณีดังกล่าว โดยวิธีที่คิดในปัจจุบันคือ

การ นำรายได้ทั้งหมด มาเข้าฟังก์ชั่นหาภาษีปรกติทั้งปี – รายได้ทั้งหมดเข้าฟังก์ชั่นหาภาษี ทั้งปี ก็จะได้ผลต่าง จะถือเป็น รายได้ และรายจ่ายภาษี Gross up ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งวิธีดังกล่าวจะผิด

เช่น
คำนวณ ปรกติ เงินเดือน 200,000 บาท ปรกติจะเสียภาษี ปีล่ะ 526,360.00 บาท เดือนล่ะ 43,865.00 บาท
คำนวณ Gross up เงินเดือน 200,000 บาท Gross up เสียภาษี ปีล่ะ 751,971.43 บาท เดือนล่ะ 62,664.43 บาท

ปรกติจะเสียภาษี 43,865.00
ภาษีที่เกินมาเพราะเกิดภาษีบริษัทออกให้ ภาษีแบบ Gross up - ภาษีทั้งปีปรกติ = 751,971.43 – 526,360.00 = 225,661.43 บาท

เพราะ เป็นการจ่ายให้ครั้งเดียวจำเป็นต้องเอาผลต่าง มาเพิ่มในเดือน ๆ นั้นเลยจะไม่เฉลีย จะได้ ภาษีปรกติ + ผลต่างภาษีทั้งปีกับ Gross up = 225,661.43 + 43,865.00 = 269,476.43 บาท จะทำให้เยอะกว่า เงินเดือน ซึ่งผิดปรกติครับ

จึงรบกวนขอวิธีที่ถูกต้องในการคำนวณดังกล่าวหน่อยครับ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีโชว์ Database Object ใน Visio

ให้ไปที่ เมนู Database->View->Table and views เท่านี้แหละก็จะโชว์ดาต้าเบสที่เคยสร้างไว้ขึ้นมา ไม่ต้อง Copy ให้ซ้ำซ้อนนะจ๊ะ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Encryption PHP

หาตัว Encryption ไว้ใช้กับโค๊ด PHP แต่ละตัวแพง ๆ ทั้งนั้นเพราะเอามาใช้แค่ครั้งเดียว แต่ถ้าใช้ประจำก็ถือว่าคุ้มค่ามาก มีเจ้าใหนบ้างล่ะ
1. Zend Guard ขายพร้อม Zend studio อาจจะหมดสิทธิ์ เพราะเราไม่ได้พัฒนาด้วย Zend IDE
เป็น Software ที่ต้องติดตั้งพร้อม Zend Optimize โดยหลักการ Zend Guard แล้วให้ห Zend Optimize จัดการต่อ
2. Sourceguardian.com ราคา 199 $ US ---
3. ioncube ราคา 199$ ---
4. PHP Obfuscator (POBS) ราคา Free!! $
หลักการ Encrypte ด้วย MD5 ที่เครื่อง Developer ได้ไฟล์แล้วก็ให้ Deploy เครื่อง Production แล้วให้ PHP Server อ่านโค๊ดที่โดน Encrypte (MD5) จะเป็นการยากที่คนอื่นจะมาเอาโค๊ดไปแก้ใข เพราะไม่ Encrypte ก็ดูไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว แต่ก็เอาว่ะ ให้มันยากขึ้นไปอีก

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งพี่นุชให้ทำก่อนการ Develop โปรแกรม

จะต้องมีการ Confirm Requirement ทุกครั้งจะต้องใช้
- Confirm ด้วยกระดาษ
- Confirm ด้วย Design Specification

ถ้าไม่มีก็ไม่ไห้ Develop เด็ดขาด แต่จะทำอะไรที่ทำก่อนคร่าว ๆ แต่ที่เป็น Logic ก็ยังไม่ต้องทำ ต้อง Confirm จาก SA ก่อนเท่านั้น